เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

นิ้วล็อกภัยใกล้ตัว

นิ้วล็อกภัยใกล้ตัว

นิ้วล็อก (trigger finger) เป็นโรคที่มีการอักเสบของเส้นเอ็น และปลอกหุ้มเส้นเอ็น (tenosynovitis) โรคนิ้วล็อกเกิดมาจากความขยันในการทำงานบ้าน ทำสวน การเล่นกีฬา หรือเเม้กระทั่งการทำงานของพนักงานออฟฟิศ รวมถึงการเล่นโทรศัพท์มือถือที่ต้องใช้การงอนิ้ว เหยียดนิ้ว เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง  โดยผู้ที่เป็นนิ้วล็อกจะไม่สามารถงอ หรือเหยียดนิ้วมือได้ปกติ อาจเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว โรคนิ้วล็อกพบได้บ่อยเนื่องจากมือเป็นอวัยวะที่ใช้ในการทำงาน และกิจกรรมต่าง ๆ หากนิ้วขยับไม่ได้ นิ้วงอ และมีอาการกระตุกเมื่อขยับนิ้ว เหยียดนิ้วขึ้นตรง และเกิดอาการปวดร้าว อาการเหล่านี้อาจเป็นอาการของโรค “นิ้วล็อก”

สาเหตุของอาการนิ้วล็อก

นิ้วล็อก เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว ทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี งอข้อนิ้วมือแล้วไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้เหมือนเดิม  มีความรู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อกไว้ 

สาเหตุของนิ้วล็อกอาจเกิดจากการใช้แรงงอนิ้วมากๆ หรือกำนิ้วแน่นมากๆ ทำให้เกิดการเสียดสีบริเวณปลอกหุ้มเอ็นมาก ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลง หรือการเสื่อมของเซลล์ร่วมด้วย อาการนิ้วล็อคมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบได้บ่อยร่วมกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และรูมาตอยด์

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนิ้วล็อก

  1. ผู้ที่ต้องทำงานด้วยการใช้มือและนิ้ว โดยการทำงานมีลักษณะต้องเกร็งนิ้วมือบ่อยๆ หรือตลอดเวลา เช่น พนักงานออฟฟิศ แม่บ้าน แม่ครัว คนทำอาหาร ช้างไฟฟ้า ช่างไม้ ช่างโทรศัพท์ ช่างทำผม ทันตแพทย์ คนสวน หรือเกือบทุกคนที่ต้องใช้นิ้ว หรือเกร็งนิ้วในการทำงานอยู่เป็นประจำ และเป็นระยะเวลายาวนาน
  2. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคเก๊าท์ หรือโรครูมาตอยด์ เป็นต้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนิ้วล็อกมากว่าคนปกติทั่วไป

     โรค “นิ้วล็อก” แม้ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่นิ้วมือเป็นก็อวัยวะที่สำคัญหนึ่งในการทำงานและกิจกรรมต่าง ๆ แต่หากนิ้วเกิดมีอาการปวดร้าว สะดุด ติดขัดในขณะใช้งานย่อมมีผลกระทบต่อการทำงานในชีวิตประจำวันอย่างมากได้ การใช้งานนิ้วมืออย่างพอเหมาะ มีการบริหารมือทั้งก่อน และหลังใช้งาน มีส่วนช่วยในการป้องกันไม่ให้เกิดโรค รวมถึงลดโอกาสการเป็นซ้ำได้การหาตัวช่วยเสริมที่จะทำให้ร่างกายไม่เกิดความผิดปกติก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกทั้งวิตามิน หรือเทโนโลยีที่ข่วยกระดูก และข้ออย่างไรก็ตามหากเป็นมากจนต้องรับการผ่าตัด ปัจจุบัน ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยทำให้การผ่าตัดปลอดภัย ใช้เวลาไม่นาน ฟื้นตัวกลับมาใช้งานได้เร็ว และไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

หากสงสัย หรือเริ่มมีอาการสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://mgronline.com/infographic/detail/9660000049330

https://www.sanook.com/health/29437/

Relate Article