เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

ลดโซเดียมยืดชีวิต

ลดโซเดียมยืดชีวิต

  โซเดียม คือเกลือแร่ชนิดหนึ่ง ที่ถือว่ามีความสำคัญ เพราะมีผลต่อการควบคุมน้ำ และของเหลวในร่างกาย ซึ่งสามารถควบคุมระบบความดันโลหิต การทำงานของเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อ ตลอดจนถึงการดูดซึมสารอาหาร และเกลือแร่ในไต และลำไส้เล็ก ที่มีความจําเป็นต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ พบในอาหารเกือบทุกชนิด ไม่ใช่เฉพาะในเกลือ หรืออาหารที่มีรสเค็มเท่านั้น

โดยแหล่งที่พบโซเดียมตามธรรมชาติ ได้แก่ เกลือ สัตว์น้ำมีเปลือก (กุ้ง ปู) สมอง ไต เนื้อตากแห้ง เบคอน แคร์รอต หัวบีต อาร์ทิโชก เป็นต้น ส่วนในรูปแบบอื่น ๆ จะพบได้ในรูปแบบของเกลือแกง อาหารสำเร็จรูป วัตถุปรุงรส ตลอดจนถึงขนมกรุบกรอบที่ใส่ผงฟูทุกชนิด ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ร่างกายของคนเราจะต้องการโซเดียมประมาณเฉลี่ย 1,500 มิลลิกรัม ต่อวัน แต่ในชีวิตประจำวันของเราอาจจะมีการบริโภคโซเดียมที่มากกว่านั้น โดยปริมาณโซเดียมสูงสุดที่บริโภคแล้วไม่อันตราย คือ ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเกลือประมาณ 1 ช้อนชา การบริโภคโซเดียมมากเกินไป จะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย ควรรับปริมาณโซเดียมแต่พอดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ 

ประโยชน์ของ “โซเดียม”

  • ช่วยให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  • ช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลียจากความร้อนหรือลมแดดได้
  • โซเดียมจะช่วยให้แคลเซียมและแร่ธาตุอื่น ๆ สามารถละลายในเลือดได้

โทษของ “โซเดียม” ต่อสุขภาพ

  • หากโซเดียมในร่างกายสูง ก็จะทำให้เลือดข้น แล้วส่งผลให้มีการดึงน้ำจากในเซลล์ออกมาในกระแสเลือด และทำให้เกิดความดันโลหิตสูงตามมา
  • ไตต้องทำงานหนักขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง และเกิดภาวะไตวายในอนาคตได้
  • หัวใจก็ต้องทำงานหนักขึ้นเช่นกัน จึงเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
  • โซเดียมจะทำให้ร่างกายบวม โดยเฉพาะตรงบริเวณ ใบหน้า มือ เท้า ขา เนื่องจากโซเดียมดึงน้ำออกมารอบ ๆ เซลล์
  • ขณะเดียวกัน ก็จะทำให้ผิวเหี่ยวและแห้งกร้าน เพราะมีการดึงน้ำออกจากเซลล์ผิว ทำให้ผิวหนังเสียความชุ่มชื้น

วิธีที่ทำให้ห่างไกลจาก “โซเดียม”

  1. หลีกเลี่ยงผงชูรสและผงปรุงรส เพราะถึงแม้จะมีปริมาณโซเดียมน้อยกว่าเกลือ แต่ผงชูรสไม่มีรสชาติเค็มเหมือนเกลือ จึงทำให้คนปรุงอาหารกระหน่ำใส่ลงไปโดยไม่ยั้งมือ เพราะเชื่อว่าจะช่วยชูรสอาหารให้ดีขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นสาเหตุให้ได้รับปริมาณโซเดียมที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
  2. ลดความจัดจ้านของรสชาติอาหารในแต่ละรส เพราะอาหารยิ่งมีรสจัด ยิ่งต้องใส่เครื่องปรุงรสเค็มและผงชูรสมากขึ้นเพื่อให้อาหารครบรส ซึ่งหากชอบกินอาหารรสจัด ควรค่อย ๆ ลดความจัดลง หรือกินอาหารรสจัดสลับกันไป
  3. รับประทานอาหารสด หลีกเลี่ยงอาหารที่เก็บไว้นาน เพราะมีโอกาสได้รับโซเดียมเพิ่มโดยไม่จำเป็นจากสารกันบูด
  4. หลีกเลี่ยงการกินน้ำซุป หรือกินน้อยลง เพราะน้ำซุปมีปริมาณโซเดียมสูงมากจากเครื่องปรุงรสหรือซุปก้อน
  5. สังเกตปริมาณโซเดียมจากฉลากโภชนาการ และแบ่งกินให้พอเหมาะ เพราะการรู้จักสังเกตฉลากนอกจากจะทำให้รู้ว่าเราได้รับพลังงานจากอาหารมากน้อยเพียงใด ยังบอกถึงปริมาณโซเดียมที่ได้รับอีกด้วย ซึ่งอาหารมื้อหลักไม่ควรให้โซเดียมเกิน 600 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วน อาหารว่างไม่ควรมีโซเดียมเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน
  6. ใช้เกลือทดแทนในการปรุงอาหารได้ แต่ก็อย่าวางใจปลอดโซเดียม เพราะเกลือทดแทนยังมีโซเดียมอยู่ประมาณครึ่งหนึ่ง เพราะฉะนั้นให้ใส่แต่พอประมาณ

การบริโภคโซเดียม ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบการทำงานของร่างกาย และไม่กลายเป็นภัยร้ายมาทำลายสุขภาพ หากมีข้อสงสัยปัญหาสุขภาพสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

Relate Article