เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

โปรตีนเกษตร ทำมาจากอะไร?

โปรตีนเกษตร ทำมาจากอะไร?

        โปรตีนเกษตร ทำมาจากถั่วเหลืองที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่พิถีพิถันอย่างเหมาะสมในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกถั่วเหลืองคุณภาพ นำไปผ่านกรรมวิธีการรีด หรือ สกัดเอาไขมันจากถั่วเหลืองออกไป แต่ยังคงไว้ซึ่งโปรตีน จากนั้นจึงนำไปผ่านกรรมวิธีที่ต้องใช้ความร้อนและความดันสูงควบคู่กันไป เพื่อให้เกิดการขึ้นเป็นรูปทรงต่าง ๆ พร้อมการทำให้ปราศจากเชื้อ ทำให้เหมาะสำหรับการนำมาประกอบเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ

โปรตีนเกษตรเกิดขึ้นได้อย่างไร?

        โปรตีนเกษตรเกิดจากการค้นคว้าและวิจัยโดยสถาบันค้นคว้า และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุดประสงค์หลัก คือ ต้องการผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโปรตีนสูงจากพืชมาแทนเนื้อสัตว์ เริ่มทำการค้นคว้าและวิจัยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2512 จนถึงปี 2517 รวมระยะเวลา 6 ปี โดยในช่วงแรก ใช้ชื่อเรียกว่า “เกษตรโปรตีน” จากนั้น มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนสูตร วัตถุดิบหลัก และกรรมวิธีการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาเป็นตัวช่วยให้มีรสชาติ สี กลิ่นที่น่ารับประทานมากขึ้น ลดระยะเวลาการเตรียม และนำไปประกอบอาหารได้สะดวกขึ้น ดูดซึมน้ำได้เร็วขึ้นกว่าเดิม วางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2523 และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทำให้มีความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเทศกาลกินเจ จึงทำให้โปรตีนเกษตรได้รับการปรับปรุง และพัฒนาให้มีรูปแบบอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมายจนกลายมาเป็นโปรตีนเกษตรที่เป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

รับประทานโปรตีนเกษตรมาก ๆ ร่างกายจะเป็นอย่างไร ?

แม้ว่าโปรตีนเกษตรจะมีปริมาณโปรตีนสูง แต่ไม้ได้เป็นอาหารที่มีแต่โปรตีนแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่ให้พลังงานเช่นกัน เช่น มีคาร์โบไฮเดรต (ที่มีกากใยอาหารด้วย) ในปริมาณที่ใกล้เคียงกับโปรตีน เป็นอาหารที่ให้พลังงาน (366 กิโลแคลอรี่ต่อโปรตีนเกษตร 100 กรัม) และยังมีปริมาณฟอสฟอรัสสูง อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไต และการรับประทานโปรตีนเกษตรมากเกินไป ก็อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินจำเป็น เรียกง่าย ๆ คือกินมาก ๆ ก็อาจอ้วนได้เช่นกัน

ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน คือ ไม่ควรเกิน 100-150 กรัม จะได้รับโปรตีน 50-75 กรัมต่อวัน (หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่ออกกำลังกายหนัก ๆ เท่านั้นถึงควรจะรับประทานโปรตีนมากกว่า 75 กรัมต่อวัน) 

โปรตีนเกษตรทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้จริงหรือ?

ผลิตจากถั่วเหลือง ทำให้โปรตีนเกษตรมีโปรตีนสูงถึง 49.47% มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน โดยเฉพาะไลซีน ซึ่งพบในปริมาณสูงมาก และยังให้คาร์โบไฮเดรทถึง 37.20%, ไขมัน 0.26%, มีไฟเบอร์ 1.10% และยังมีวิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายอย่าง โพแทสเซียม, ฟอสฟอรัส, แคลเซียม,  เหล็ก, โซเดียม และวิตตามินบีอีกด้วย คุณภาพโปรตีนที่ได้จากพืชนี้พบว่ามีค่า PER ใกล้เคียงกับเคซีนในน้ำนมวัวเลยทีเดียว

ข้อควรระวังของโปรตีนเกษตร

  • โปรตีนเกษตรมีแคลอรีสูงโปรตีนเกษตร 100 กรัมนั้นมีแคลอรีมากถึง 360 kcal เพราะฉะนั้นแล้วไม่ควรกินโปรตีนเกษตรมากเกินไป โดยปริมาณที่แนะนำคือวันละไม่เกิน 150 กรัม เพราะทั้งวันเราต้องกินอาหารชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย อาจทำให้แคลอรีเกินจนน้ำหนักตัวเพิ่มได้
  • การกินโปรตีนเกษตรมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการท้องผูก ขับถ่ายยากเพราะโปรตีนเกษตรผ่านกระบวนการอบแห้งมาก่อน ก่อนใช้ปรุงอาหารเราจะต้องแช่น้ำจนอิ่มตัวดี หากปรุงโปรตีนเกษตรโดยไม่แช่น้ำหรือแช่ได้ไม่เต็มที่ก็อาจทำให้โปรตีนเกษตรดูดน้ำในระบบทางเดินอาหารของเราแทน และอาจทำให้รู้สึกแน่นท้อง ขับถ่ายยาก
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วไม่ควรกินโปรตีนเกษตร
  • ควรรับโปรตีนทางเลือกจากหลายๆ แหล่งไม่ควรทานโปรตีนเกษตรแค่เพียงอย่างเดียวเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนหลากหลาย หรืออย่างในช่วงเทศกาลกินเจก็ให้เลือกกินผักโปรตีนสูง ผลไม้โปรตีนสูง ควบคู่ไปด้วย

  โปรตีนเกษตรยังคงเป็นอาหารจากพืชทดแทนโปรตีนจากสัตว์ ซึ่งผู้ที่ทานเจ หรือ ทานมังสวิรัติสามารถใช้เป็นอาหารหลัก เพื่อให้ยังคงมีโปรตีนตามความต้องการของร่างกาย อย่างไรก็ดีการบริโภคโปรตีนเกษตรก็เหมือนกับการบริโภคอาหารชนิดต่าง ๆ ที่ควรบริโภคอย่างพอเหมาะ ไม่ควรบริโภคมากเกินความจำเป็นของร่างกาย ซึ่งอาจนำผลเสีย หรือ โรคต่าง ๆ มาแทนคุณประโยชน์ได้

ร่ายกายเราต้องการอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานให้กับเซลล์ในร่างกาย การรับประทานอาหารที่หลากหลายก็จะทำให้ร่างกายสุขภาพที่ดีอีกทางหนึ่ง การหาตัวช่วยเสริมก็เป็นทางเลือกที่จะช่วยสุขภาพให้แข็งแรง ก่อนหาตัวช่วยเสริมอื่นๆ ควรไปพบแพทย์ เพื่อที่จะได้รับการประเมินการตรวจสุขภาพประจำปีจะได้ทราบถึงภาวะภายในร่างกายว่าเราควรเพิ่มเติมส่วนที่ขาด เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี และจะได้ตัวช่วยเสริมเพื่อเพิ่มพลังให้กับร่างกายต่อสู้กับโรคภัยได้อีกทางหนึ่ง V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://www.sanook.com/health/17893/

https://allwellhealthcare.com/textured-vegetable-protein/

Relate Article

โรคตัวแข็งเกร็ง

โรคตัวแข็งเกร็ง …

หน้าที่ของลำไส้

ลำไส้ใหญ่จะอยู่ …

โรคไตไม่เลือกวัย

ไตเป็นอวัยวะสำค …

เครียดต้องกินของหวานจริงไหม ?

เวลาที่คุณเครีย …