เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

โรคแพนิค

ผู้ป่วยโรคนี้จะรู้สึกทุกข์ทรมานในการดำเนินชีวิตประจำวันเนื่องจากมีความวิตกกังวลตลอดเวลาว่าจะมีอาการเกิดขึ้นอีกเมื่อไร จู่ ๆ ก็หัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทัน เหงื่อแตก ท้องไส้ปั่นป่วน และมีความกลัวว่าตัวเองจะป่วยเป็นโรคร้ายแรง กำลังจะตาย ทำเอาสติหลุดไปหมด ทั้ง ๆ ที่ไปตรวจสุขภาพดูก็ปกติทุกอย่าง และเกิดความทุกข์ใจอย่างมากที่ไม่อาจดำเนินชีวิตให้เป็นปกติสุขได้ดังเดิม แต่ความจริงแล้วยังมีวิธีการที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และหายได้

สาเหตุของโรคแพนิก

ขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของโรคแพนิก จากการวิจัยพบว่าโรคแพนิกอาจมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านกรรมพันธุ์ โดยถ้าเป็นญาติสายตรงจะพบประมาณร้อยละ 43 นอกจากนี้ ยังอาจเกี่ยวข้องกับการมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๆ ในชีวิตเกิดขึ้น ทำให้เกิดความเครียด และนำไปสู่การเกิดอาการของโรคแพนิก เช่น การต้องจากไกลบ้านเพื่อไปศึกษาต่อ การแต่งงานหรือการมีลูกคนแรก ฯลฯ

อาการของโรคแพนิก ?

  • ใจสั่น ใจเต้นแรง แน่นหน้าอก
  • เหงื่อออกมาก หนาวๆ ร้อนๆ
  • หายใจถี่ หายใจตื้น หายใจไม่อิ่ม
  • วิงเวียน โคลงเคลง รู้สึกตัวลอย คล้ายจะเป็นลม
  • รู้สึกกลัวไปหมดทุกอย่าง โดยเฉพาะกลัวตาย
  • ควบคุมตัวเองไม่ได้ รู้สึกอยู่คนเดียวไม่ได้

เมื่อมีลักษณะอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น และสงสัยว่าอาจเป็นโรคแพนิค สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับแรกคือการไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด แม้ว่าโรคแพนิคจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาการของโรคนั้นไปสัมพันธ์คล้ายคลึงกับปัญหาสุขภาพร้ายแรงอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบหลอดเลือดหัวใจ และหัวใจวายเฉียบพลัน

รู้จัก และเข้าใจกับภาวะป่วยในโรคแพนิค

การเจ็บป่วยในรูปแบบของ โรคแพนิค นั้น ทางการแพทย์ได้ระบุนิยามสั้น ๆ เอาไว้ว่าเป็น “ความวิตกกังวลที่ไม่สมเหตุสมผล” อาการป่วยในรูปแบบของ โรคแพนิค (Panic Disorder) คืออาการตื่นตระหนกมากจนเกินไป ทำให้มีผลตามมาต่อการตอบสนองต่อความวิตกกังวลเหล่านั้น เช่น การหวั่นวิตกว่าตนเองเจ็บป่วยมากจนเกินไปจนเกิดการตอบสนองที่ดูเหมือนผิดปกติ เช่น มีอาการปวดหัวเพียงเล็กน้อย แต่เกิดความวิตกกังวลมาก คิดว่าตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็งสมอง เป็นต้น

บางสถานการณ์อาการแพนิคเกิดขึ้นจากการอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่วิกฤตบางอย่าง ทำให้เกิดอาการหวั่นวิตก ควบคุมตัวเองไม่ได้ เช่น ในวงการดำน้ำที่มักเจออาการแบบนี้เป็นประจำ คืออาการแพนิคเมื่อหลงทางใต้ทะเล หรือเมื่อเจอกระแสน้ำไหลเชี่ยว นักดำน้ำบางคนจะเกิดอาการแพนิคขึ้นมากะทันหัน ซึ่งทางการแพทย์อ้างว่าอาการเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นอาการเจ็บป่วย สามารถควบคุมตัวเองให้กลับมาอยู่ในภาวะปกติได้ แต่นับว่าเป็นอาการความวิตกกังวลมากเกินควรในอีกรูปแบบหนึ่งเช่นกัน

อาการแพนิค เกิดจากภาวะทางจิตใจที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้จากสิ่งเร้ารอบข้างทำให้เกิดความวิตกกังวลมากกว่าปกติ ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลด้วยความเข้าใจ และทันท่วงที แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรง หรืออันตรายถึงชีวิต สำหรับอาการแพนิคบางอย่างเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และสามารถหายเองได้ แต่ถ้าเป็นความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจนไม่อาจอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ การไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย การรักษาโดยเร็วก็เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อไม่ให้โรคนี้กระทบชีวิตประจำวันได้ และรักษาถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติใด ๆ หรือกำลังป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หรือสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ V Precision Clinic เรามีทีมแพทย์คอยแนะนำ ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมงาน ที่มีความรู้ความชํานาญ เพื่อดูแลสุขภาพของคุณเฉพาะบุคคล เข้ามาปรึกษาที่ V Precision Clinic

เอกสารอ้างอิง

https://www.thaipbs.or.th/news/content/308619

https://www.roojai.com/article/health-guide/panic-disorder/

Relate Article