โปรแกรม Circulating Tumor Cell Blood Test
หรือ โปรแกรม CTC Test


โปรแกรม Circulating Tumor Cell Blood Test เป็นหนึ่งในรูปแบบการตรวจมะเร็งด้วยวิธีที่ไม่รุกล้ำร่างกายของผู้ป่วย เพื่อหาเซลล์มะเร็งชนิดต่าง ๆ กว่า 10 ชนิดที่อยู่ในกระแสเลือดของผู้ป่วย โดยการตรวจด้วยรูปแบบนี้เป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก และไม่ซับซ้อน อีกทั้งยังสามารถตรวจพบโรคมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นซึ่งเป็นส่วนช่วยสำคัญในการรักษาโรคชนิดนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตของผู้ป่วยลงไปได้มาก
นอกจากนี้ CTC Test ยังสามารถใช้ในการตรวจวัดวิวัฒนาการของเซลล์มะเร็งว่ามีการแพร่กระจายภายในร่างกายของผู้ป่วยมากน้อยเพียงใด เพื่อติดตามผลการรักษามะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการทำงานของโปรแกรม CTC Test
การตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยรูปแบบ Circulating Tumor Cell Blood Test เป็นการเจาะเลือดของผู้เข้ารับบริการเพื่อนำส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน โดยผู้เข้ารับบริการจะทราบผลลัพธ์หลังจากส่งเลือดตรวจประมาณ 10 วัน
ใครควรตรวจโปรแกรม CTC Test
- บุคคลทั่วไปที่มีความต้องการตรวจโรคมะเร็ง
- ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเคยป่วยด้วยโรคมะเร็ง
- ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง เช่น สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
- ผู้ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง และต้องการติดตามผลลัพธ์การรักษา
- ผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคมะเร็ง และต้องการตรวจเพื่อประเมินโอกาสเป็นซ้ำ
ข้อดีของโปรแกรม CTC Test
- สามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งตั้งแต่ในระยะแรกเริ่ม ซึ่งส่งผลดีต่อการรักษา
- ชนิดมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
- มีขั้นตอนการตรวจคัดกรองที่สะดวก
- ทราบผลลัพธ์หลังจากการตรวจ 10 วัน
- ห้องปฏิบัติการตรวจมีคุณภาพ และได้มาตรฐาน
- ผ่านการรับรองโดย FDA และ CE


โปรแกรม CTC Test สามารถตรวจพบมะเร็งชนิดใดได้บ้าง?
- มะเร็งเต้านม (Brest Cancer)
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก (Colorectal Cancer)
- มะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal Cancer)
- มะเร็งปอด (Lung Cancer)
- มะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer)
- มะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric Cancer)
- มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer)
- มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer)
- มะเร็งตับ (Liver Cancer)
- มะเร็งหลังโพรงจมูก (Nasopharyngeal Cancer)
ตารางเปรียบเทียบการตรวจโปรแกรม CTC Test และการตรวจมะเร็งรูปแบบอื่น ๆ
CTC Test | Tumor Marker | ภาพถ่ายรังสีวินิจฉัย | การตัดชิ้นเนื้อ |
ใช้วิธีการเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจ | ใช้วิธีการเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจ | ใช้วิธีการฉายรังสี หรือใช้สารทึบรังสีร่วมด้วยในบางกรณี | ใช้วิธีตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่เกิดโรคเพื่อส่งตรวจ |
สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม | อาจไม่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม | อาจไม่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม | อาจไม่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม |
ใช้เพื่อตรวจคัดกรอง และติดตามผลการรักษา | ใช้เพื่อตรวจคัดกรอง และติดตามผลการรักษา | ใช้เพื่อตรวจคัดกรอง ติดตามผลการรักษา และวินิจฉัย | ใช้ในการวินิจฉัย |
ในกรณีตรวจคัดกรอง มีความไวในการตรวจ 90.1% และความจำเพาะต่อการตรวจพบเซลล์มะเร็ง 84.4% | ในกรณีตรวจคัดกรอง มีความไวในการตรวจต่ำ และไม่ได้จำเพาะต่อโรคมะเร็งเท่านั้น | ความไวในการตรวจต่ำ เนื่องจากถูกจำกัดด้วยขนาดของมะเร็ง | ความไวในการตรวจต่ำ เนื่องจากถูกจำกัดด้วยขนาดของมะเร็ง และอาจไม่แม่นยำในกรณีที่มะเร็งวิวัฒนาการไป |
สามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งได้ตั้งแต่มีขนาด 5 มิลลิเมตรขึ้นไป | สามารถตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่มีขนาด 50 มิลลิเมตรขึ้นไป หรือในระยะแพร่กระจาย | MRI/PET/CT สามารถตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่มีขนาด 0.3-1 เซนติเมตร | ไม่จำกัดขนาดมะเร็ง แต่เป็นการตรวจเมื่อผู้ป่วยผ่านการตรวจคัดกรองอื่น และสงสัยว่าเป็นมะเร็ง |
ไม่มีผลข้างเคียง | ไม่มีผลข้างเคียง | อาจมีผลข้างเคียงจากรังสี หรือสารทึบรังสี | อาจมีผลข้างเคียงจากการทำหัตถการ |
