เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

ไข้หวัดใหญ่ภัยร้ายในผู้สูงอายุ

ไข้หวัดใหญ่ภัยร้ายในผู้สูงอายุ

โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน อาการโดยทั่วไปจะมีไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงสามารถหายได้เองใน 3-5 วัน แต่ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่โรคประจำตัวนั้น อาจเกิดความเสี่ยงรุนแรง ภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้  การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำปีละ 1 ครั้งก็เป็นอีก 1 ทางเลือกในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้ไม่เกิดอาการที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะกลุ่มสูงอายุถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากโรคไข้หวัดใหญ่สูงกว่าคนวัยหนุ่มสาว จากสถิติพบว่ากลุ่มสูงอายุมันเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดย 85% ของผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ

ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่

  1. ภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย (Immunosenescence) โดยผู้สูงอายุจะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เนื่องจากภูมิคุ้มกันเสื่อมถอยลดลงตามอายุที่มากขึ้นเมื่อผ่านพ้นวัยหนุ่มสาว โดยจะชัดเจนมากที่สุดช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ยิ่งสูงวัยมากเท่าไหร่จะยิ่งมีโอกาสป่วยติดเชื้อมากขึ้น
  2. โรคประจำตัว (Underlying disease) โดยผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต มะเร็ง เมื่อติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่แล้วมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย บางรายอาจรุนแรกถึงขั้นเสียชีวิตได้
  3. ภาวะเปราะบางและความอ่อนแอในผู้สูงอายุ (Frailty) เมื่อผู้สูงอายุติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่พบว่า 10% ของผู้สูงอายุจะสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง ต้องพึ่งพาผู้อื่นรวมทั้ง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาลยังไม่สามารถกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติภายใน 1 ปี

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ

  • เสี่ยงต่อการเกิดภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ
  • เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมอง
  • เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ผู้ป่วยบางรายมีความสามารถในการดูแลตนเองลดลง

วิธีการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ

โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำในทุก ๆ ปี เพราะในแต่ละปีวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสายพันธุ์ที่ระบาดในช่วงเวลานั้นๆ โดยเป็นการคาดการณ์ว่าจะเกิดการระบาดของสายพันธุ์นั้นๆ ตามองค์การอนามัยโลก และในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ชนิด High Dose สำหรับผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป มีปริมาณแอนติเจนในการกระตุ้นภูมิเพิ่มขึ้น 4 เท่าเมื่อเทียบกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทั่วไป

ประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ชนิด High Dose

  • ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพต่อผู้สูงอายุ ที่อายุมากกว่า 65 ปี
  • ช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่
  • ช่วยลดความเสี่ยงในการนอนโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อน 8.4%
  • ช่วยลดความเสี่ยงโรคปอดอักเสบ 27.3%
  • ช่วยลดความเสี่ยงโรคระบบหัวใจและทางเดินหายใจ 17.9%
  • มีปริมาณแอนติเจนในการกระตุ้นภูมิเพิ่มขึ้น 4 เท่าเมื่อเทียบกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมาตรฐาน
  • มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมาตรฐาน

ข้อดีของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ชนิด High Dose

  • ช่วยป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น
  • ช่วยลดความรุนแรงของโรค
  • ช่วดลดภาวะการเกิดโรคแทรกซ้อน ได้ดีกว่าสูตรธรรมดา
  • ช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดอักเสบ
  • ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต

ข้อควรระวังก่อนฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ชนิด High Dose

  • ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ หรือส่วนประกอบในวัคซีนไข้หวัดใหญ่
  • ผู้ที่มีประวัติการแพ้ไข่รุนแรง (Anaphylaxis) **ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับการฉีดวัคซีน (วัคซีนไข้หวัดใหญ่ส่วนมากจะมีการเลี้ยงเชื้อในเซลล์ไข่ จึงทำให้มีส่วนประกอบของโปรตีนจากไข่ปนในวัคซีน สำหรับผู้ที่มีประวัติการแพ้ไข่รุนแรงควรหลีกเลี่ยงการฉีด แต่ถ้าหากแพ้ไม่รุนแรง เช่น เป็นผื่น สามารถฉีดได้แต่ต้องเฝ้าดูอาการหลังฉีด 30 นาที)
  • ผู้ที่เป็นไข้หวัดและยังมีไข้อยู่ หรือมีโรคติดเชื้อรุนแรง **ควรรักษาไข้หวัดให้หายก่อนแล้วจึงเข้ารับวัคซีน

 

ปัจจุบันวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ชนิด High Dose จัดจำหน่ายไปแล้วมากกว่า 202 ล้านโดสทั่วโลกมีการติดตามผลหลังฉีดวัคซีนของผู้ใช้ทั่วโลก พบว่าไม่มีอันตรายหลังการฉีดวัคซีน จึงสามารถมั่นใจในความปลอดภัยได้ สำหรับผลข้างเคียงสามารถพบอาการปวดบริเวณที่ฉีด ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ มีไข้ไม่สบาย แต่อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้น และหายไปได้เองหลังจากฉีดวัคซีน 3 วัน ซึ่งอาการดังกล่าวพบว่าไม่แตกต่างจากการได้รับวัคซีนในขนาดมาตรฐานที่ V Precision เราให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ชนิด High Dose สำหรับผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป มีแพทย์คอยให้คำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิด สามารถปรึกษาอาการกับแพทย์ได้ตลอด

Relate Article