เลขที่อนุมัติ ฆสพ.สบส. 7542/2565

โรคหลอดเลือดสมอง ใครก็เป็นได้

โรคหลอดเลือดสมอง ใครก็เป็นได้

โรคหลอดเลือดสมอง เกิดได้จากสาเหตุ 2 ประการคือ หลอดเลือดสมองแตก (พบผู้ป่วยประมาณ 20-30%) และหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน (พบผู้ป่วยประมาณ 70-80%)

  1. หลอดเลือดสมองตีบ มาจากการเปลี่ยนแปลงที่ผนังหลอดเลือดจนส่งผลให้หลอดเลือดตีบลง เช่น มีไขมันและหินปูนมาพอกตัวที่ผนังหลอดเลือดจนส่งผลให้หลอดเลือดตีบลง เช่น มีไขมันและหินปูนมาพอกตัวที่ผนังหลอดเลือดหรือเกิดจากลิ่มเลือดจากที่อื่นมาอุดตันเช่น ลิ่มเลือดจากหัวใจ เป็นต้น
  2. หลอดเลือดในสมองแตก เกิดจากความดันโลหิตสูงที่เป็นมานาน หลอดเลือดโป่งพอง เป็นต้น พอหลอดเลือดในสมองแตก ก็จะมีเลือดออกมาและมีการจับตัวของเลือด เกิดเป็นก้อนเลือดไปเบียดเนื้อสมองส่วนอื่น ๆ ทำให้การทำงานของสมองเสียไป

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

 

  • อาการชา อ่อนแรงหรือไม่มีแรงในใบหน้า แขน หรือขา โดยเฉพาะข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
  • ความสับสน หรือลำบากในการพูดหรือการเข้าใจคำพูด
  • มองเห็นภาพเบลอหรือมองเห็นภาพซ้อนในหนึ่งหรือทั้งสองตา
  • เดินลำบาก เวียนศีรษะ การเสียสมดุลหรือการขาดการประสานงาน
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเกิดขึ้นทันที

ปัจจัยเสี่ยง

  • ความดันโลหิตสูง
  • เบาหวาน
  • การสูบบุหรี่
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (เช่น Atrial Fibrillation)
  • โรคอ้วน
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • ภาวะคอเลสเตอรอลสูง

การป้องกันและการรักษา

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองเน้นที่การจัดการปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว เช่น การควบคุมความดันโลหิต การรักษาโรคเบาหวาน การเลิกสูบบุหรี่ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การรักษาเบื้องต้นต้องทำทันทีเพื่อลดความเสียหายของสมอง ซึ่งโรคนี้ดูอันตราย แต่ป้องกันได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ก็จะช่วยป้องกัน และลดความรุนแรงของการเกิดโรคชนิดนี้ได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

นอกจากการสังเกตความผิดปกติของร่างกายแล้ว การหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เป็นอีกแนวทางป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยหากพบว่ามีความดันโลหิตที่มากกว่า 140/80 mmHg ควรพบแพทย์เพื่อรักษาให้ทันท่วงที และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก กินผักผลไม้ทุกวัน และงดบุหรี่เลิกเหล้า เพื่อสุขภาพที่ดีแข็งแรงห่างไกลโรค

Reference

http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/106_2017-08-19.pdf แพทย์หญิงพรรณวลัย ผดุงวณิชย์กุล อายุรศาสตร์สาขาประสาทวิทยา

https://www.thaihealth.or.th/?p=230810 หนังสือ รู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง และคู่มือ องค์ความรู้ด้านวิถีชีวิตกับโรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สำนักงานวิจัยและพัฒนาเพื่อการแปรงานวิจัยสุขภาพสู่การปฏิบัติ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

https://www.thaihealth.or.th/?p=236736   MGR Online